วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์





1. บีกเกอร์
เป็นแก้วใส ใช้สำหรับบรรจุสารที่มีปริมาณมาก เพื่อละลายสารหรือทำปฏิกิริยาเคมี และสามารถเทสารออกได้ง่ายทางปากบีกเกอร์โดยจะมีขีดบอกปริมาตรซึ่งเป็นค่าโดยประมาณเท่านั้น บีกเกอร์มีหลายขนาดและมีความจุต่างกัน โดยที่ข้างบีเกอร์จะมีตัวเลขระบุความจุของบีกเกอร์ มีทั้งเป็นแบบสูง แบบตี้ย และแบบรูปทรงกรวย(conical berker) บีกเกอร์จะมีปากงอเหมือนปากนกซึ่งเรียกว่า spout ทำให้การเทของเหลวออกได้โดยสะดวก Spout ทำให้สะดวกในการวางไม้แก้วซึ่งยื่นออกมาจากฝาที่ปิดบีกเกอร์และ spout ยังเป็นทางออกของไอน้ำหรือแก๊สเมื่อทำการระเหยของเหลวในบกีเกอร์ที่ปิดด้วยกระจกนาฬิกา(watch grass)
วิธีการเลือกใช้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเหลวที่จะใส่ โดยปกติให้ระดับของเหลวอยู่ต่ำกว่าปากบีกเกอร์ประมาณ 1 - 1 1/2 นิ้
ขนาดที่ใช้ ความจุ 5 - 5000 ml
ประโยชน์    
1.ใช้สำหรับต้มสารละลายที่มีปริมาณมาก ๆ
2. ใช้สำหรับเตรียมสารละลายต่าง ๆ
3. ใช้สำหรับตกตะกอนและใช้ระเหยของเหลวที่มีฤทธิ์กรดน้อย
คำเตือนเล็กๆน้อยๆ  - ห้ามใช้บีกเกอร์ทุกขนาดทดลองปฏิกิริยาระหว่างสารโดยเด็ดขาด

2.กระบอกตวง
ใช้สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่มีอุณหภูมิไม่สูงกว่าอุณหภูมิของ ห้องปฏิบัติการกระบอกตวงไม่สามารถใช้วัดของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงด้เนื่องจากอาจจะทำให้กระบอกตวงแตกได้ กระบอกตวงจะบอกปริมาตรของของเหลวอย่างคร่าวๆ ถ้าต้องการวัดปริมาตรที่แน่นอนต้องใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรอื่นๆ เช่น ไพเพทหรือบิวเรท
ขนาดที่ใช้  ความจุที่ใช้ตั้งแต่ 5 - 2000 ml
ข้อควรระวัง
 - การอ่านปริมาตร ควรให้ระดับสายตาอยู่ในแนวเดียวกันกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุด
วิธีการอ่านค่า ให้ยกกระบอกตวงให้ตั้งตรงและให้ท้องน้ำอยู่ในระดับสายตา และอ่านค่าปริมาตร ณ จุดต่ำสุดของท้องน้ำ

3. เทอร์มอมิเตอร์
เครื่องมือใช้วัดระดับอุณหภูมิของสารเป็นชนิดทำด้วยแก้ว ภายในบรรจุแอลกอฮอล์ผสมสีหรือปรอท เพื่อช่วยให้อ่านได้ชัดเจน มีทั้งชนิดที่เป็นองศาเซลเซียสและฟาเรนไฮต์ี้
วิธีการใช้ เทอร์มอมิเตอร์ ที่ใช้ในการทดลองมีขีดการวัดอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด แตกต่างกัน ตาม จุดประสงค์ ของการใช้งาน มีขั้นตอนการใช้งานดังนี้
1.ก่อนใช้ต้องตรวจดูว่าเทอร์มอมิเตอร์ชำรุดหรือไม่
2.เลือกที่มีช่วงอุณหภูมิสูงสุด - ต่ำสุดให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด เพราะถ้านำไปวัดอุณหภูมิ สูงเกินไปจะทำให้หลอดแก้วแตก
3. ต้องให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์จุ่มอยู่ในวัสดุที่ต้องการวัดในบริเวณกึ่งกลาง ไม่ค่อนไปด้านใดด้านหนึ่งและส่วนก้านเทอร์มอมิเตอร์ตั้งตรง
4.การอ่านอุณหภูมิต้องให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกับของเหลวในเทอร์มอมิเตอร์
การเก็บรักษา
1.ทำความสะอาดหลังจากการใช้งาน
2.เช็ดให้แห้งและเก็บเข้ากล่อง และไว้ในที่ที่ปลอดภัย
ข้อควรระวัง
1.อย่าใช้เทอร์มอมิเตอร์คนของเหลว
2.ขณะต้มของเหลว ควรใช้ขาตั้งช่วยยึดเทอร์มอมิเตอร์ให้ตั้งตรง
3.ไม่ควรนำเทอร์มอมิเตอร์ไปใช้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน100 องศาเซลเซียส เนื่องจากเมื่อนำเทอร์มอมิเตอร์นั้นมาใช้ในอุณหภูมิที่เย็น จะทำให้สารในเทอร์มอมิเตอร์ขาดเป็นช่วง ๆ ได้

4.ช้อนตักสาร
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตวงสารที่เป็นของแข็งโดยประมาณเมื่อตักสาร แต่ละครั้งต้องปาดปากช้อนเพียงครั้งเดียว โดยไม่กดสารในช้อนก่อนปาด
วิธีการใช้
ค่อยๆเปิดขวดสารแล้ว หงายจุกวางไว้ ใช้ช้อนตักสาร แล้วใช้นิ้ว หรือก้านดินสอเคาะก้านช้อนเบาๆเพื่อเทสารในช้อนออกตามปริมาณที่ต้องการ ถ้าเป็นช้อนที่มีเบอร์สำหรับตวงสารปริมาณต่างกัน ให้ตักสารก่อนแล้วจึงใช้ด้ามช้อนอีกด้ามหนึ่งปาดผิวให้เรียบ โดยไม่ต้องกดให้แน่นจะได้สาร 1 ช้อนในปริมาณตามเบอร์นั้นๆ
การเก็บรักษา
1.เมื่อใช้ช้อนตักสารแล้วต้องทำความสะอาดช้อนให้แห้งก่อนที่จะใช้ช้อนตักสารชนิดอื่น
2.ห้ามใช้ช้อนตักสารในขณะที่สารยังร้อน

5. หลอดทดลอง
1.หลอดทดลองมีหลายชนิดและหลายขนาด ชนิดที่มีปากและไม่มีปาก ชนิดธรรมดาและชนิดทนไฟขนาดทดลองระบุได้2 แบบ คือความยาวกับเส้นผ่านศูนย์กลางริมนอกหรือขนากความจุเป็นปริมาตร
2.หลอดทดลองส่วนมากใช้สำหรับทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารต่าง ๆ ที่เป็นสารละลาย ใช้ต้มของเหลวที่มีปริมาณน้อย ๆ โดยมี test tube holder จับกันร้อนมือ
3.หลอดทดลองแบบทนไฟจะมีขนาดใหญ่ และหนากว่าหลอดธรรมดา ใช้สำหรับเผาสารต่าง ๆ ด้วยเปลวไฟโดยตรงใน
อุณหภูมิที่สูง หลอดชนิดนี้ไม่ควรนำไปใช้สำหรับทดลองปฏิกิริยาเคม ีระหว่างสารเหมือนหลอดธรรมดา
วิธีการเก็บรักษา
1.ล้างทำความสะอาดด้วยแปรงล้างหลอดทดดลอง
2.เก็บใส่ตะ้กร้า ตั้งไว้ในที่ปลอดภัย

6. ชุดตะเกียงแอลกอฮล์
บรรจุด้วยแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ จะมีควันหรือเขม่าในขณะที่จุดไฟน้อยมาก หากแอลกอฮอล์ ไม่บริสุทธิ์จะให้เขม่ามาก ทำให้ตะแกรงลวด และวัสดุ ที่ให้ความร้อนสกปรก
วิธีการใช้ิ
1.ก่อนใช้ต้องตรวจดูสภาพไส้ตะเกียงและที่ยึดว่ามีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่แตกร้าว ความยาวไส้ตะเกียงเพียงพอได้เช่น ส่วนยึดไส้ตะเกียง ไม่ร้าว หรือแตก และปริมาณแอกอฮอล์ในตะเกียงมีมากน้อยเพียงใด
2.เติมแอลกอฮอล์ประมาณครึ่งหนึ่งของตะเกียงและอย่าให้หกเลอะขอบตะเกียง เช็ดให้แห้ง โดยใช้กรวยและเติมด้วยความระมัดระวังอย่าให้หก เพราะเมื่อจุด ตะเกียงแล้ว อาจทำให้ไฟไหม้ลุกลามได้
3.ปรับไส้ตะเกียงเพื่อให้ได้ขนาดเปลวไฟตามที่ต้องการ
4.จุดตะเกียงโดย ใช้ ไม้ขีดไฟ อย่าใช้ตะเกียงไปต่อกับตะเกียงดวงอื่น เพราะอาจทำให้แอลกอฮอล์ในตะเกียงติดไฟ
5.เมื่อใช้ตะเกียงแอลกอฮอล์เสร็จแล้วต้องดับตะเกียงทันที โดยใช้ฝาครอบปิด ห้ามใช้ปากเป่าให้ดับ การครอบต้องครอบให้สนิททุกครั้งเพื่อป้องกันมิให้แอลกอฮอล์ระเหย
6.ควรมีกระป๋องทรายไว้ทิ้งก้านไม้ขีดที่จุดไฟแล้ว
การเก็บรักษา ทำความสะอาดหลังใช้งาน ครอบฝาตะเกียงแล้วเก็บเข้าตู้

7. แท่งแก้วคนสาร
ใช้สำหรับคนสารละลายให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ หรือใช้เมื่อจะเทสารละลายจากภาชนะหนึ่ง
ลงในภาชนะอีกชนิดหนึ่ง โดยจะเทสารละลายให้ไหลไปตามแท่งแก้วคนสารแท่งแก้วคนสารที่มียางสวมอยู่อีกปลายด้านหนึ่ง เรียก
ว่า Policeman จะใช้สำหรับปัดตะกอนที่เกาะอยู่ข้าง ๆ และถูภาชนะให้ปราศจากสารต่าง ๆ ที่เกาะอยู่ข้าง ๆ
ยางสวมนั้นต้องแน่น
วิธีการใช้
วิธีที่ 1 การกวนสารละลายด้วยแท่งแก้ว เป็นการกวนของแข็งให้ละลายในเนื้อเดียวกันกับสารละลายหรือเป็นการกวนให้สารละลายผสมกันโดยใช้แท่งแก้ว การกวนสารละลาย ต้องกวนไปในทิศทางเดียว และระวังอย่าให้แท่งแก้วกระทบกับข้างหลอดทดลองหรือก้นหลอดทดลอง เพราะจะทำให้หลอดทดลองทะลุได้ หากเป็นการผสมสารละลายที่มีจำนวนมากก็ควรใช้ปีกเกอร์แทนหลอดทดลองและใช้เทคนิคการกวนสารละลายเช่นเดียวกัน

วิธีที่ 2 การหมุนสารละลายด้วยข้อมือ เป็นเทคนิคการผสมสารละลายในหลอดทดลอง กระบอกตวงหรือฟลาสให้มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วนวิธีหนึ่ง โดยใช้มือจับทางส่วนปลายของอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วหมุนด้วยข้อมือให้สารละลายข้างในไหลวนไปทิศทางเดียวกัน

8. หลอดฉีดยา
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวอย่างง่าย ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก นิยมใช้ในโรงเรียนเนื่องจากราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกมีขนาดต่างๆกัน ที่ใช้ในโรงเรียนส่วนมากมีตั้งแต่ขนาด 5  cm3  จนถึง 35 cm3
วิธีการใช้
1.เลือกขนาดของหลอดฉีดยาให้เหมาะสมกับปริมาตรที่ต้องการวัดดงก้านหลอดฉีดยาขึ้นและกดลง เพื่อให้ยางที่ปลายก้านหลอดฉีดยาเลือนได้คล่อง
2.กดก้านหลอดฉีดยาจนสุดเพื่อไล่อากาศออกให้หมด
3.จุ่มปลายหลอดฉีดยาลงในของเหลว ค่อยๆ ดึงก้านหลอดฉีดยาขึ้นขณะที่ดูดสารละลายเข้าไปในหลอดฉีดยา ระวังอย่าให้มีฟองอากาศถ้ามีต้องกดก้านหลอดฉีดยาลงไปจนสุดเพื่อไล่อากาศ แล้วค่อยๆดึงก้านหลอดฉีดยาให้ส่วนที่โค้งต่ำสุดของลูกยางตรงกับขีดปริมาตรที่ต้องการ
การเก็บรักษา ห้ามใช้หลอดฉีดยาที่ทำด้วยพลาสติกตวงสารอนินทรีย์ เพราะจะทำให้พลาสติกละลาย เมื่อเสร็จงานแล้วต้องล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้งสนิท

9. เครื่องชั่ง
ชนิด Mechanical balance อีกชนิดหนึ่งที่มีราคาถูกและใช้ง่าย แต่มีความไวน้อย เครื่องชั่งชนิดนี้มีแขนข้างขวาอยู่ 3 แขนและในแต่ละแขน จะมีขีดบอกน้ำหนักไว้เช่น 0-1.0 กรัม 0-10 กรัม 0-100 กรัม และยังมีตุ้ม น้ำหนักสำหรับเลื่อนไปมาได้อีกด้วย แขนทั้ง 3 นี้ติดกับเข็มชี้อันเดียวกัน
หมายเหตุ การหาน้ำหนักของสารอาจหาน้ำหนักทั้งขวดบรรจุสารและสารรวมกันก่อน ก็ได้ แล้วชั่งขวดบรรจุสารอย่างเดียวทีหลัง ต่อจากนั้นก็เอาน้ำหนักทั้ง 2 ครั้งลบกัน ผลที่ได้ จะเป็นน้ำหนักของสารที่ต้องการ
วิธีการใช้
     วิธีการใช้เครื่องชั่งแบบ (Triple- beam balance)
*  ตั้งเครื่องชั่งให้ได้ระดับกับพื้นราบ (เครื่องชั่งสองหน้า หากไม่ได้ระดับเข็มจะไม่ตรงกัน)
        *  ถาดชั่งต้องมีหมายเลขตรงกับเครื่องชั่ง และสะอาด
        *   ก่อนชั่ง เข็มจะต้องตรงศูนย์ (0) ถ้าไม่ตรง ให้ปรับให้ตรงด้วยวิธีใช้คีมหมุนน๊อตใต้ถาดชั่ง
        *   อย่าชั่งน้ำหนักเกินพิกัดกำลังของเครื่องชั่ง
        *   การชั่งให้วางสิ่งของตรงบริเวณกึ่งกลางของถาดชั่ง
        *  อย่าวางสิ่งของลงบนถาดชั่งด้วยวิธีกระแทก
        *  ถ้าชั่งสิ่งที่ไม่สะอาด  ควรห่อหุ้มเสียก่อน
การเก็บรักษา
       *  เมื่อไม่ใช้เครื่องชั่ง  ไม่ควรวางสิ่งของไว้บนถาดชั่ง
         *  ระวังอย่าให้น้ำเข้าไปในเครื่องชั่ง
         *  ควรตั้งเครื่องชั่งไว้ในที่ไม่มีฝุ่นผงและความชื้น

10. หลอดหยด
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับตวงของเหลวปริมาณน้อย ๆ ทำได้โดยการนับจำนวน หยดของของเหลวที่หยดลงไป และสามารถเทียบมาตรฐาน(calibrate) ด้วยกระบอกตวง แล้วใช้เป็นค่าโดยประมาณ สำหรับทำการทดลอง ต่อไปได้ มีลักษณะเป็นหลอดแก้วที่ปลายข้างหนึ่งยาวเรียวเล็ก และปลายอีกข้างหนึ่งมีกระเปาะยางสวมอยู่
วิธีการใช้ หลอดหยดใช้สำหรับดูดของเหลวต่างๆที่่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น ดูดสารละลายด่างทับทิม เกลือแกง กรดต่างๆเป็นต้น หลอดหยดเมื่อใช้ดูดสารชนิดหนึ่งแล้วห้ามนำไปดูดสารต่างชนิดกัน ถ้ายังไม่ได้ ทำความสะอาด
การเก็บรักษา ใช้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำความสะอาดเช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในตู้อุปกรณ์
ข้อควรระวัง
1.อย่าให้ปลายของหลอดหยด กระทบหรือแตะกับ ปลายหลอดทดลอง
2.อย่าให้สารละลายสัมผัสกับกระเปาะยางเพราะจะทำให้สารละลายถูกปนเปื้อนได้ และถ้าสารละลายมีฤทธิ์เป็นกรดก็จะกัดกร่อนกระเปาะยางด้วย ดังนั้นเมื่อทำการทดลองเสร็จแล้วควรรีบดึงกระเปาะยางออกจากหลอดแก้วทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น