วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ 5 อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล


อุปกรณ์รับ เข้า ส่งออก

 
 
บทที่ 3 อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก
I.อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
อุปกรณ์รับเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์แล้วทำการส่ง ต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Processing Unit) อุปกรณ์รับเข้าที่เห็นโดยทั่วๆ ไปเช่น
-          แผงแป้นอักขระ หรือคีย์บอร์ด (Keyboard)
-          เม้าส์ (Mouse)
-          ลูกกลมควบคุม (Track Ball)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์นำเข้าเป็นการนำข้อมูลเข้าจากแหล่งข้อมูลโดยการบันทึกตรง
แต่ มีการรับข้อมูลเข้าบางอย่างที่ต้องอาศัยเก็บข้อมูลไว้ในแหล่งเก็บแล้วทำการ แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ซึ่งวิธีนี้เรียกว่าการนำข้อมูลต้นฉบับเข้าอัตโนมัติ     (Source Data Automation) เช่น
-          เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก หรือเอ็มไอซีอาร์ (Magnetic-Ink Character Reader : MICR)
-          เครื่องกราดภาพ  (Scanner)
-          เครื่องอ่านสัญลักษณ์ด้วยแสง หรือโอเอ็มอาร์ (Optical Mark Reader :OMR)
-          เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง หรือโอซีอาร์ (Optical Character  Reader :OCR)
-          รหัสแท่ง (Bar Code)
-          อักขระที่เป็นลายมือเขียน (Handwritten Character)
-          ข้อมูลเข้าที่เป็นเสียง (Voice Input)
-          จอสัมผัส (Touch Screen)
-          ป้อนข้อมูลเข้าด้วยการมอง (Looking) 

รายละเอียดของอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ

1.แผงแป้นอักขระ (KeyBoard)

แผงแป้นอักขระ หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด จะต่อยู่กับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว  คีย์บอร์ดอาจเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ได้  คีย์บอร์ดโดยทั่วไปจะประกอบด้วยแป้น (Key) 4  กลุ่ม คือ
1.       แป้นกำหนดหน้าที่ (Function Keys)
2.       คีย์บอร์ดหลัก (Main Keyboard)
3.       แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
4.       แป้นเพิ่มเติม (Additional Keys)

2.ลูกกลมควบคุม

ลูกกลมควบคุมหรือแทร็กบอล (Track Ball) การทำงานของแทร็กบอล  จะคล้ายกับเมาส์แต่ใช้มือไปหมุนกับลูกบอลโดยตรง ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว หรือโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์
3.เมาส์ 
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์  (Windows) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface : GUI) โดย ใช้เมาส์เป็นอุปกรณ์หลักในการสั่งข้อมูลนำเข้า ซึ่งลักษณะการใช้งานแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายที่ใช้ชี้และ สั่งการกับสัญรูป (Icon) ต่างๆ บนจอภาพ

4.เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก

เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก หรือ เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic-Ink Character Reader : MICR) โดยอาศัยวิธีการรู้จำอักขระที่เป็นหมึกแม่เหล็ก (Magnetic-Ink Character Recognition) โดยปกติการจดจำนี้จะใช้กับการตรวจสอบเช็ค ซึ่งจะใช้เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็กอ่านหมายเลขเช็คที่อยู่มุมล่างขวามือของใบเช็ค

5.เครื่องกราดภาพ  (Scanner)

เป็นเครื่องมือที่ใช้การนำเข้าข้อมูลในลักษณะการกราด (Scan) ของลำแสง ไปยังรูปภาพหรือข้อมูลที่ต้องการนำเข้าด้วยระบบการรู้จำด้วยแสง (Optical Recognition) แล้วเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ไฟฟ้า เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

สแกนเนอร์แบ่งตามลักษณะการนำข้อมูลเข้าได้ 3 ลักษณะคือ

1.       สแกนเนอร์มือถือ (Handheld Scanner)
2.       สแกนเนอร์แบบป้อนทีละแผ่น (Sheet Feed Scanner)
3.       สแกนเนอร์แบบระนาบ (Flatbed Scanner)

6.เครื่องอ่านสัญลักษณ์ด้วยแสง

เครื่องอ่านสัญลักษณ์ด้วยแสง หรือโอเอ็มอาร์ (Optical Mark Reader : OMR) เครื่องอ่านสัญลักษณ์ด้วยแสง จะใช้ระบบการรู้จำสัญลักษณ์ด้วยแสง (Optical Mark Recognition) โดยการใช้แสงอ่านสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ได้ทำไว้แล้วเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ไฟฟ้าส่งต่อให้หน่วยประมวลผล  เช่น เครื่องตรวจกระดาษคำตอบ

7.เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง

เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง หรือโอซีอาร์ (Optical Character  Reader :OCR) จะทำงานด้วยการรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Mark Recognition)โดยการใช้แสงอ่านอักขระพิเศษแล้วเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ไฟฟ้าส่งต่อให้หน่วยประมวลผล   เหมือนกับโอเอ็มอาร์ เพียงแต่ตัวอักขระพิเศษที่อ่าน เป็นอักขระที่กำหนดขึ้นเรียกว่า  OCR-A ซึ่งกำหนดโดย  สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือแอนซี (American National Standard Institute : ANSI)
8.แวนรีดเดอร์ (Wand Reader)
เป็นเครื่องกราดภาพขนาดเล็กประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการอ่าน OCR-A นิยมมากทั้งในห้องสมุด โรงพยาบาล โรงงานและร้านขายสินค้าปลีก  โดยเฉพาะถ้าเป็นร้านขายสินค้าปลีก  แวนรีดเดอร์ จะต้องใช้กับระบบ POS (Point-Of-Sale) ซึ่งสามารถตัดยอดการจำหน่ายและเก็บเงินผ่านบัญชีได้ ณ จุดขาย

9.เครื่องอ่านรหัสแท่ง  (Bar Code Reader)

เป็นเครื่องมือที่ใช้อ่านรหัสที่ติดอยู่ตามสินค้า   รหัสนี้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานสากลทั่วโลกหรือที่เรียกว่า  Universal Product Code (UPC) ซึ่งใช้แทนรหัส และรายละเอียดของสินค้า

10.อักขระที่เป็นลายมือเขียน

ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ (Handwritten Character) ลายมือเขียนได้โดยตรง ซึ่งวิธีการนี้ ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลที่เป็นลายมือเขียนโดยตรงได้  เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการป้อนข้อมูลเข้าเครื่อง

11.ข้อมูลเข้าที่เป็นเสียง

ข้อมูลเข้าที่เป็นเสียง (Voice Input) หรือการรู้จำเสียง  (Speech Recognition) เป็นการสั่งหรือพูดเพื่อส่งข้อมูลให้กับระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประมวลผลโดยอุปกรณ์รู้จำเสียง (Speech Recognition Device) ที่รับคำพูดผ่านไมโครโฟน แล้วแปลงคำพูดให้อยู่ในรูปรหัสเลขฐานสองที่คอมพิวเตอร์จะมีระบบรู้จำเสียง

12.จอสัมผัส (Touch Screen)

เป็นการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องโดยการใช้มือชี้เลือกการทำงานบนจอภาพ  โดยบนผิวจอสัมผัสนี้จะมีลำแสงฉาบอยู่  เมื่อนิ้วไปสัมผัสจอภาพจะไปตัดผ่านลำแสงบนจอให้ทราบว่าได้สั่งงานแล้ว และนำคำสั่งไปปฏิบัติตาม

13.การป้อนข้อมูลเข้าด้วยการมอง (Looking)

เป็นวิธีการป้อนข้อมูลที่คล้ายกับจอสัมผัส เพียงแต่ลำแสงที่ฉายนั้นส่งมาไกลในรัศมีระยะหนึ่ง  และการสั่งการจะใช้การกระพริบตาเพื่อตัดลำแสงที่ส่งตรงมายังเรตินาที่ตา  การ ป้อนข้อมูลเข้าด้วยการมองนี้ เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยคนพิการ คนเป็นอัมพาต หรือคนป่วย ที่นอนอยู่บนเตียงและไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

II.อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลหรือผลที่ได้จากการประมวลผลออกมาแสดง  ตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น อุปกรณ์ส่งออกโดยทั่วไปได้แก่
1.จอภาพ 
เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ผลที่แสดงออกบนจอภาพจะเรียกว่าสำเนาชั่วคราว หรือ Soft Copy   จอภาพมีชื่อเรียกหลายแบบตามลักษณะของที่มาเช่น
·       มอนิเตอร์ (Monitor)
·       จอซีอาร์ที หรือหลอดภาพลำแสงขั้วบวก (Cathode Ray Tube)
·       จอวีดียู  หรือ VDU  (Video Display Unit)
·       จออาร์จีบี หรือ RGB (Red Green Blue)
·       เทอร์มินัล (Terminal)
·       จอแอลซีดี หรือจอภาพผลึกเหลว (LCD : Liquid Crystal Display)


2.เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (Printer) ใช้ในการออกผลลัพธ์ที่เป็นสำเนาถาวร หรือสิ่งพิมพ์ออก (Hard Copy)  บนกระดาษ
เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการทำงานได้  2 ประเภทคือ
1.       เครื่องพิมพ์แบบกระทบ  (Impact Printer)
-          เครื่องพิมพ์รายอักขระ (Character Printer)
-          เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (Line Printer)
-          เครื่องพิมพ์รายหน้า (Page Printer)
2.       เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ  (Nonimpact Printer)
-          เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
-          เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Ink Jet Printer)
-          เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน (Thermal Printer or Electrothermal Printer)
-          เครื่องพิมพ์เฉพาะด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น