วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิทยาศาสตร์ คือ อะไร




อะไรคือวิทยาศาสตร์ อะไรคือไม่ใช่วิทยาศาสตร์
อะไรคือวิทยาศาสตร์ อะไรคือไม่ใช่วิทยาศาสตร์

บางคนอาจสงสัยว่าจะมาตั้งคำถามแบบนี้ทำไม ป่วยหรือเปล่า ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา
งั้นผมอาจลองเปลี่ยนคำถามเป็น

"อะไรคือสิ่งที่ควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อ"
"อะไรคือสิ่งที่ควรศึกษา อะไรไม่ควรเสียเวลาด้วย"
"อะไรคือสิ่งที่ควรให้การสนับสนุน อะไรไม่ควรให้การสนับสนุน"
"อะไรคือสิ่งที่สามารถใช้อ้างอิง อะไรไม่ควรใช้อ้างอิง"
"อะไรควรสามารถใช้ในศาล อะไรไม่สามารถใช้ในศาลได้"

เริ่มเห็นภาพไหมครับ ว่ามันควรมีเส้นแบ่งเขตระหว่างสองอันนี้
สำคัญคือ "เราจะเชื่อใครดีหละนี้"

คราวนี้บางคนอาจสงสัยอีกว่า จะมาตั้งคำถามแบบนี้ทำไม
ไง ๆ ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าอะไรเป็นวิทยาศาสตร์อะไรไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ยังป่วยอยู่หรือเปล่าเนี้ย

ลองอ่านดูสักนิดอาจเข้าใจทำไมผมตั้งคำถาม (และเข้าใจว่า ผมคงไม่ป่วย)

ด้วยคำถามข้างล่างต่อไปนี้ เป็นคุณจะตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่

1. ทฤษฏีสัมพันธ์ภาพเป็นวิทยาศาสตร์ ?
2. การพยากรณ์อากาศเป็นวิทยาศาสตร์?
3. หลักเศรษฐศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์?
4. ทฤษฏี evolution ของดาวินเป็นวิทยาศาสตร์ ?
5. "การสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็ง" เป็นคำตอบแบบวิทยาศาสตร์?
6. จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ ?
7. psychoanalysis ของ ซิกแมน ฟลอย์ เป็นวิทยาศาสตร์?
8. โหราศาสตร์"ไม่"เป็นวิทยาศาสร์ ?
9. "หมอลักษณ์บอกเดือนนี้มีหุ้นตกรอบใหญ่...ฟันธง" "ไม่" เป็นวิทยาศาสตร์ ?

ด้วยcommon sence ที่ถูกฝังกันมาเราอาจตอบคำถามข้างบนนี้ว่า "ใช่" อย่างรวดเร็ว

ส่วนใหญ่บอกว่าโหราศาสตร์ (8,9) ไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยหลายเหตุผล

แต่มีนักปรัชญาบางคนบอกว่า 7 ไม่น่าจะเรียกว่าวิทยาศาสตร์
โดยเขาให้เหตุผลว่า หลักจิตวิทยาของฟลอย์ เป็นการ"อธิบาย"แบบกว้าง ๆ
หรือเรียกว่า อธิบายแบบครอบจักรวาล
ซึ่งวิธีการอธิบายแบบนี้ไม่ต่างจากการ"อธิบาย"แบบโหราศาสตร์
ซึ่งสิ่งที่เห็น(จากคนป่วย หรือ คนมาดูดวง) สามารถอธิบายด้วยให้ตรงกับหลักได้อย่างครอบจักรวาล

อีกทั้งยังมีบางคนบอกว่า "การสูบบุหรี่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็ง" ไม่ควรเรียกว่าวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำ
น่าจะเป็นแค่สถิติเท่านั้น หรือเป็นแค่สิ่งที่พบเห็นเท่านั้น (เขาใช้คำว่า empirical)
แล้วเขาบอกว่าเจ้าสถิติเหล่าเนี้ยมันใช้อธิบายปรากฎการณ์ไม่ได้ มันอาจเป็นแค่"เหตุบังเอิญ"ก็ได้
ที่คนสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่า

งงสิครับ บางคนอาจเถียงว่า "อะไร ก็เห็น ๆ อยู่ ใคร ๆ ก็บอก"
"ใคร ๆ ก็บอก"หรือ "ความเชื่อ" นี้คงมาอ้างอิงในหลักวิทยาศาสตร์ไม่ได้แน่
"เห็น ๆ กันอยู่" คำว่า เห็น ๆ ในที่นี้อาจจะไม่พอซะแล้วสำหรับตรงนี้
ประเด็นคือ คำว่า "เหตุบังเอิญ"ที่เขากล่าวอ้างคืออะไร
ลองดูตัวอย่างที่เห็นได้ชัด มีสถิติหนึ่งบอกว่า
"ถ้าช่วงเดือนไหนยอดขายไอติมสูงขึ้น อัตตราการก่ออาชญากรรมก็สูงขึ้นตามด้วย"
อันนี้เป็นตัวอย่างคลาสิก และมีสถิตินี้จริงๆ
ถ้าเรามองจากสถิติ เราก็จะสรุปได้ว่า "หรือว่ากินไอติมแล้ว มีโอกาสก่อนอาชญากรรมมากขึ้น"
มาถึงตอนนี้ต่างกับไหมกับตัวอย่างสูบบุหรี่ข้างบน "ดูดบุหรี่...มะเร็ง" "ไอติม..อาชญากรรม"
กลับมาเรื่องไอติม แล้วถ้ามีบางคนแย้งว่า "เฮ้ยนั้นบังเอิญ ลืมเรื่องอุณหภูมิไปหรือเปล่า"
คราวนี้ถ้าทำสถิติใหม่ "ถ้าเดือนไหนอุณหภูมิสูง อัตราก่อนอาชญากรรมก็สูงด้วย"
ฟังดูมีเหตุผลกว่าไหมครับ
แล้วคราวนี้ย้อนกลับสถิติที่ว่า "บุหรี่...มะเร็ง" หละ มัน "บังเอิญ" หรือเปล่า
เรา "ลืม" ตัวแปรอะไรไปหรือเปล่า (อย่างเช่นอุณหภูมิ)
เป็นเด็นตรงนี้คือ แค่ที่เราเห็นหรือสังเกตการ(เห็นบุหรี่) เราไม่สามารถมาสรุปได้ (ว่าทำให้เป็นมะเร็ง)
เนื่องจากเราไม่สามารถอธิบายได้ว่า บุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งเพราะสาเหตุใด ดังนั้นตัวเลขเหล่านี้
เป็นแค่สถิติ หรือ การสังเหตุเห็นเท่านั้น เราอาจตกหรือลืมตัวแปรอะไรไปก็ได้
ดังนั้นสถิติ ก็คือสถิติ ๆ ไม่ใช่ ข้อสรุป เขาว่าอย่างนั้น

บางคนอาจคิดว่า ทำไมคิดไกลอย่างนั้น ทำไมไม่เอาแค่สติถิเป็นตัวตัดสินก็ได้นี้
ว่าอะไรใช่วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
เพราะว่าประโยคเนี้ย "บุหรี่...มะเร็ง" มันมีโอกาสถูก "สูง"
คราวนี้ยิ่งแย่ไหน อะไรคือตัวกำหนดว่าตัวเลขไหน "สูง" หรือ "ไม่สูง"
มันค่อนข้างคุมเครือ เพราะคำว่า "สูง" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
อย่างผมสูง 1XX ในมุมมองผมก็บอกว่า "งั้น ๆ" บางคนก็บอกว่า "สูงแล้ว"
แถมยิ่งเอาเรื่องสถิติมาเล่นกับโหราศาสตร์ด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่
เนื่องด้วยโหราศาสตร์มีแนวโน้มว่าถูกเกินครึ่งเหมือนกัน
(โหราศาสตร์ในที่นี้หมายถึงดูแบบช่วงเกิดมีดวงดาวอะไรโคจรมาตรงไหนบ้างนะครับ
หรือโหราศาสตร์ที่อ้างว่าสร้างมาจากการเก็บสถิติ ไม่ใช่โหราศาสตร์ไพ่ป๊อก)
จากสถิติของฝรั่งบางคนที่ไปลองของเขาได้ข้อมูลมาว่า คนเกินช่วง xxx นี้
มีแนวโน้มว่าทำงานสายอาชีพ yyy มากกว่าเป็นสถิติเท่านี้เท่านั้น
(มีอ้างอิงในหนังสือที่อ่านแต่หาไม่เจอความอยู่ตรงไหนครับ)

อีกทั้งการพยากรณ์อากาศและหลักเศรษฐศาสตร์ก็มีอัตราส่วนในการทำนายผิดพลาดไม่ใช่น้อย
ถ้าด้วยเหตุผล ฯลฯ ข้างต้น อย่างนั้นแล้ว
ถ้าเราตัดอคติทิ้ง
ถ้าเราตัด common sence ถูกปลูกฝังมาทิ้ง
ถ้าเราตัดการกีดกันทางผิวทิ้ง (ไม่เกี่ยว T-T)
แบบนี้โหราศาสตร์ ก็สามารถเข้ากลุ่ม จิตวิทยา, บุหรี่..มะเร็ง, พยากรณ์อากาศ, หรือ เศรษฐศาสตร์อย่างไม่เคะเขินสิ ? เพราะถึงจะผิดบ้าง ถึงคำทำนายบางที่ครอบจักรวาลไปหน่อย ถึงจะมาจากแค่การสังเกต
แต่คนอื่นก็ทำกัน ยังอ้างว่าเป็นผู้ดีได้เลย(ผู้ดีในที่นี้ =วิทยาศาสตร์)

แล้วแบบนี้อะไรคือวิทยาศาสตร์หละ? แล้วอะไรไม่ใช่หละ?

เราจะกำหนดอย่างไรหละว่าอะไรควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อดีหละ

ดังนั้นจึงมาขอความเห็นครับ

สาเหตุที่มา post คืออยากฟังความคิดเห็นจากคนที่สนใจในเรื่องว่าด้วยเหตุผล (ไม่ขอใช้คำว่าวิทยาศาสตร์เดี๋ยวงง)

ปล.

คือผมอ่านหนังสือชื่อว่า philosophy of science
http://www.amazon.com/Philosophy-Science-Central-J-

Cover/dp/0393971759/ref=sr_11_1?

ie=UTF8&qid=1204202776&sr=11-1

บทแรกเขาพูดถึงงการแสดงความคิดเกี่ยวกับเส้นแบ่งเขตระหว่าง วิทยาศาสตร์ กับ สิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (เขาใช้คำว่า pseudoscience ) อ่านไปแล้วก็เกิดคำถามนี้ในใจ

แต่นักปรัชญาในหนังสือทุกคนเขาเห็นเหมือนกันนะครับว่า โหราศาสตร์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์

จากคุณ : D - [ 28 ก.พ. 51 21:40:26 A:213.100.33.21 X: TicketID:127086 ]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น